วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเีรียนรู้ ดนตรี ม.1


แผนการจัดการเรียนรู้
ดนตรี ม. 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
โครงสร้างการแบ่งเวลารายชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้

ดนตรี ม.1


หน่วยการเรียนรู้/
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
เวลา/
จำนวนชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
วงดนตรีและบทเพลง
11
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ประเภทของวงดนตรี
3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี
4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง
1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ
2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
การประเมินคุณภาพของบทเพลง
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ดนตรีกับมรดกทางวัฒนธรรม
3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
บทบาทและอิทธิพลของดนตรี                                    
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การปฏิบัติเครื่องดนตรี(ขลุ่ย)  เป็นรายบุคคล
22
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
ความรู้เกี่ยวกับโน้ตดนตรี
4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 
ความรู้เกี่ยวกับขลุ่ยไทย
2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 
เสียงขลุ่ยและวิธีการเป่าขลุ่ย
16

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วงดนตรีและบทเพลง


ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดกับขึ้นนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย และโน้ตสากล (ศ 2.1 ม. 1/1)
2. เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน (ศ 2.1 ม. 1/2)
3. ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลงที่หลากหลายรูปแบบ
(ศ 2.1 ม. 1/3)
4. จัดประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ (ศ 2.1 ม. 1/4)
5. ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ (ศ 2.1 ม. 1/9)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. วงดนตรีไทยแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
   วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ และวงมโหรี
2. วงดนตรีสากลมีมากมายหลายประเภท เช่น
   วงดนตรีแจ๊ส วงคอมโบ วงสตริง วงโยธวาทิต
   เป็นต้น
3. วงดนตรีพื้นบ้านมีมากมายและแบ่งตาม
   ภูมิภาคของไทย เช่น ภาคเหนือมีวงสะล้อซอ
   ซึง ภาคอีสานมีวงโปงลาง ภาคใต้มีวงปี่พาทย์
   ชาตรี ภาคกลางมีวงกลองยาว เป็นต้น
4. การอ่านหรือเขียนโน้ตเพลงไทยในอัตราจังหวะ  2 ชั้นถือเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานของเพลงไทย
5. การอ่านหรือเขียนโน้ตในกุญแจซอลและฟาใน   บันไดเสียง C Major ถือเป็นพื้นฐานในการ
   เรียนหรือหัดเล่นดนตรีสากล และโน้ตใน
   กุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major ถือ
   เป็นภาษาสากลที่นักดนตรีสามารถเข้าใจ
   ตรงกันในขณะที่ร้องหรือบรรเลงดนตรีร่วมกัน
6. การเปรียบเทียบเสียงการร้องเพลงและเสียง
   ของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรม
   ต่าง ๆ สามารถสังเกตได้จากคุณภาพของ
   เสียงที่เกิดจากวิธีการขับร้องและเครื่องดนตรี
   ที่ใช้บรรเลงในบทเพลง
7. การแสดงความสามารถทางดนตรีสามารถทำ
   ได้หลายวิธี เช่น การร้องเพลงหรือใช้เครื่อง
   ดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วย
   บทเพลงที่หลากหลายรูปแบบ
8. เครื่องดนตรีแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทมี
   วิธีการใช้และบำรุงรักษาตามลักษณะเฉพาะ
   ของเครื่องนั้น ๆ
9. การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างถูกต้องและปลอดภัยจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีให้ยาวนานขึ้น
คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
1. วงดนตรีไทยแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
2. วงดนตรีสากลมีลักษณะเด่นอย่างไร
3. วงดนตรีพื้นบ้านของแต่ละภาคมีวงดนตรี
   อะไรบ้าง
4. โน้ตไทยมีวิธีการอ่านและเขียนอย่างไร
5. โน้ตสากลมีวิธีการอ่านและเขียนอย่างไร
6. การเปรียบเทียบลักษณะเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ    มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
7. เพลงพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นที่สามารถนำมาฝึกร้องมีเพลงอะไรบ้าง ยกตัวอย่างท้องถิ่นละ 1 เพลง
8. ฉิ่งมีวิธีการบรรเลงให้เกิดเสียงฉิ่งและฉับ
   อย่างไร
9. เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลแต่ละ
   ประเภทมีวิธีบำรุงรักษาอย่างไร


ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า...
1. คำสำคัญที่ควรรู้ ได้แก่ โอเปรา สิละ สึก และ
   วาสลิน
2. วงเครื่องสายประกอบด้วยเครื่องสีและเครื่อง
   ดีดเป็นหลัก มีเครื่องเป่าและเครื่องตีเป็น
   ส่วนประกอบ วงปี่พาทย์ประกอบด้วยเครื่องตี
   เป็นหลักและมีปี่เป็นประธาน ส่วนวง
   มโหรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีทุกประเภท
3. วงดนตรีสากลมีมากมายหลายประเภท เช่น
   วงดนตรีแจ๊ส วงคอมโบ วงสตริง และวงโยธ-
   วาทิต เป็นต้น ซึ่งจะนิยมใช้บรรเลงในงานรื่น
   เริงและนิยมบรรเลงประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
4. วงดนตรีพื้นบ้านมีมากมายและแบ่งตาม
   ภูมิภาคของไทย ประกอบด้วยวงดนตรี
   พื้นบ้านภาคเหนือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
   วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ วงดนตรีพื้นบ้านภาค
   กลาง
5. เพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น เป็นเพลงที่มี
   จังหวะไม่ช้าหรือไม่เร็วจนเกินไป ร้องง่าย จึง
   เป็นเพลงที่นิยมนำมาขับร้อง
6. กุญแจประจำหลักซอลเป็นกุญแจที่ใช้สำหรับ
   บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงกลาง ๆ ไปหาระดับ
   เสียงสูง ๆ ส่วนกุญแจประจำหลักฟาเป็น
   กุญแจที่ใช้สำหรับบันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำ ๆ
7. วิธีการขับร้องที่ถูกต้องจะส่งผลถึงคุณภาพ
   ของเสียงร้องที่ดี และการใช้เครื่องดนตรีใน
   การบรรเลงได้ถูกต้องเหมาะสมก็จะมีผล
   ต่อคุณภาพของบทเพลง
8. บทเพลงที่สามารถนำมาฝึกร้องหรือบรรเลง
   ดนตรีมีหลายรูปแบบ เช่น บทเพลงพื้นบ้าน
   ของแต่ละท้องถิ่น บทเพลงปลุกใจต่าง ๆ
   บทเพลงประสานเสียง 2 แนว บทเพลง
   รูปแบบ ABA หรือบทเพลงประกอบการเต้นรำต่าง ๆ เป็นต้น
9. การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องดนตรีได้อย่าง  ถูกต้องจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยแก่ตนเองและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีได้นานยิ่งขึ้น
ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะสามารถ...
1. จัดประเภทของวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล
   และวงดนตรีพื้นบ้านได้ถูกต้อง
2. อ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากลได้
   ถูกต้องตามหลักการ
3. เปรียบเทียบลักษณะเสียงร้องและเสียงของ
   เครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
   ได้ถูกต้อง
4. ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลง
   ประกอบการร้องเพลงได้อย่างหลากหลาย
5. ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีได้อย่าง
   ระมัดระวังและปลอดภัย


ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่
        กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– จัดประเภทวงดนตรี
– อ่านและเขียนโน้ตเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น
– อ่านและเขียนโน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major
– เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลง
– ร้องเพลงที่สนใจ
– บรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
– ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
– อธิบายวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
การทดสอบ      – การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน 
การตรวจใบงาน  การตรวจใบกิจกรรม
– การประเมินความสามารถในการร้องเพลง
– การประเมินความสามารถในการบรรเลง
  เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
การประเมินผลด้านความรู้
การประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
  และค่านิยม
การประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ
เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
ใบกิจกรรม
แบบประเมินความสามารถในการร้องเพลง
แบบประเมินความสามารถในการบรรเลง
  เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
แบบประเมินผลด้านความรู้
แบบประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
  ค่านิยม
แบบประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– จัดประเภทวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล และวงดนตรีพื้นบ้านได้
– อ่านและเขียนโน้ตเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้นได้ถูกต้อง
– อ่านและเขียนโน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major ได้ถูกต้อง
– เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงได้
– ร้องเพลงที่สนใจได้
– บรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลงได้
– ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีได้ถูกต้อง
– อธิบายวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีได้
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความสนุกสนาน
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้                              
   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ประเภทของวงดนตรี                                                          3 ชั่วโมง
   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี                                 2 ชั่วโมง
   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรี
                                            ในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ                                         2 ชั่วโมง
   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลง
                                             เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง                                     3 ชั่วโมง
   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี                                      1 ชั่วโมง

 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ประเภทของวงดนตรี
เวลา 3 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วงดนตรีและบทเพลง
1. สาระสำคัญ
วงดนตรีทั้งวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล และวงดนตรีพื้นบ้านนั้น ถูกจัดเป็นประเภทตามลักษณะเฉพาะ วิธีการบรรเลง และบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงของแต่ละวง
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
จัดประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ (ศ 2.1 ม. 1/4)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้                 
1. จำแนกประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ (K)
2. บอกประเภทของวงดนตรีที่ตนเองรู้จักหรือเคยพบเห็นได้ถูกต้อง (K)
3. ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และมีความสุข (A)
              4. จัดประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                                                                                            
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจแบบทดสอบ
   ก่อนเรียน
4. จากการตรวจใบกิจกรรม
1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
   และปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตจากการปฏิบัติ
   กิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   ปฏิบัติตามขั้นตอน
5. สาระการเรียนรู้
·   วงดนตรีพื้นเมือง
·   วงดนตรีไทย
·   วงดนตรีสากล

6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการศึกษา
ประวัติของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
ภาษาต่างประเทศ
ชื่อวงดนตรีสากลและชื่อเครื่องดนตรีสากล
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้
2. สนทนาซักถามนักเรียนว่า วงดนตรีที่นักเรียนรู้จักหรือเคยพบเห็นมีวงดนตรีอะไรบ้าง เพื่อประเมินความรู้ก่อนเรียน
3. ครูเปิดวีดิทัศน์การบรรเลงของวงดนตรีประเภทใดก็ได้ แล้วถามนักเรียนว่า วงดนตรีที่บรรเลงอยู่เป็นวงดนตรีประเภทใด ให้นักเรียนช่วยกันตอบ และเฉลยคำตอบให้นักเรียนทราบ
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ประเภทของวงดนตรี เกี่ยวกับประเภทของวงดนตรีไทยและประเภทของวงดนตรีสากล โดยให้นักเรียนดูภาพวงดนตรีในหนังสือเรียนควบคู่ไปด้วย
                2. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่านักเรียนเคยเห็นวงดนตรีประเภทใดบ้างนอกจากวงดนตรีที่กล่าวมา ให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยครูคอยให้ความรู้เสริม
3. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วนำบัตรคำชื่อเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยและวงดนตรีสากลต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้น 2 ชุดเหมือน ๆ กันแจกให้นักเรียนกลุ่มละชุด จากนั้นครูเป็นคนกำหนดให้แต่ละกลุ่มจัดประเภทของเครื่องดนตรีตามที่ครูบอก โดยกลุ่มที่จัดได้เร็วและถูกต้องเป็นฝ่ายชนะ (ครูสามารถกำหนดประเภทของวงดนตรีกี่วงก็ได้ตามความเหมาะสม)
4. ครูอธิบายเรื่องวงดนตรีพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นให้นักเรียนฟังแล้วถามนักเรียนว่าในท้องถิ่นของนักเรียนมีวงดนตรีพื้นบ้านวงใด และใช้บรรเลงในโอกาสใด ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
                ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง ประเภทของวงดนตรี โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม จัดประเภทของวงดนตรีไทย กิจกรรม จัดประเภทของวงดนตรีสากล และกิจกรรม จัดประเภทของวงดนตรีพื้นบ้าน และช่วยกันเฉลยคำตอบ
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนนำความรู้เรื่อง ประเภทของวงดนตรี ไปใช้ในการศึกษาประเภทของวงดนตรีที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ถ่ายรูปเก็บไว้ และนำไปเผยแพร่ความรู้
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
ศึกษาประวัติความเป็นมาของวงดนตรีที่สนใจจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ หรือหัดเล่นเครื่องดนตรีในแต่ละประเภทที่ตนเองสนใจ แล้วนำไปบรรเลงรวมวงกับเพื่อน ๆ ตามลักษณะของวงดนตรีแต่ละประเภท โดยขอคำแนะนำจากครูดนตรี หรือผู้รู้ด้านดนตรี
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
                ศึกษาลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ เช่น ชนิดและจำนวนของเครื่องดนตรี แนวเพลงที่ใช้บรรเลง แหล่งที่มาของวงดนตรี เป็นต้น แล้วสรุปเป็นลักษณะเฉพาะของวงดนตรี และนำมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
                2. ห้องดนตรี
3. วีดิทัศน์การบรรเลงของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ
4. รายการประกวดวงดนตรีประเภทต่าง ๆ ตามสถานีโทรทัศน์หรือตามสถานที่สาธารณะ
5. ใบกิจกรรม
6. วงดนตรีไทย วงดนตรีสากล และวงดนตรีพื้นบ้าน
                7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)

 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
ประเภทของวงดนตรี
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา

  
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
เวลา 2 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วงดนตรีและบทเพลง
1. สาระสำคัญ
การอ่านหรือเขียนโน้ตเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้นถือเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานของเพลงไทย เพราะเป็นเพลงที่มีจังหวะไม่ช้าหรือไม่เร็วจนเกินไป ส่วนการอ่านหรือเขียนโน้ตในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major ถือเป็นพื้นฐานในการเรียนหรือหัดเล่นดนตรีสากล และโน้ตในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major ถือเป็นภาษาสากลที่นักดนตรีสามารถเข้าใจตรงกันในขณะที่ร้องหรือบรรเลงดนตรีร่วมกัน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย และโน้ตสากล (ศ 2.1 ม. 1/1)

 
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
               1. อ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากลได้ (K)
2. อ่าน เขียนโน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major ได้ (K)
3. ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ (A)
               4. ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความสนุกสนานและมั่นใจ (A)
5. มีทักษะในการร้องเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจใบกิจกรรม

1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากการปฏิบัติตาม
   กิจกรรมที่กำหนด
2. สังเกตจากด้านความคิด
   สร้างสรรค์ในการปฏิบัติ
   กิจกรรม
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   การปฏิบัติตามขั้นตอน


5. สาระการเรียนรู้
·   เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
– โน้ตเพลงไทย อัตราจังหวะ 2 ชั้น
– โน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การแสดงความคิดเห็น การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนกและการนับจังหวะ
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและการสร้างมนุษยสัมพันธ์
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
ภาษาต่างประเทศ
คำศัพท์ทางดนตรีและเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่าเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีทั้งของไทยและสากลมีความสำคัญอย่างไร ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อประเมินความรู้ก่อนเรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี โดยอธิบายเกี่ยวกับเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีไทยเกี่ยวกับโน้ตบทเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น ให้นักเรียนทราบ โดยให้นักเรียนดูหนังสือเรียนประกอบ
2. ครูเปิดเพลงแขกบรเทศ 2 ชั้นให้นักเรียนฟังและให้นักเรียนเคาะตามจังหวะฉิ่ง
3. ครูนำนักเรียนฝึกร้องโน้ตเพลงแขกบรเทศ 2 ชั้นหลาย ๆ รอบจนจับทำนองได้ แล้วให้นักเรียนร้องเป็นเนื้อเพลง โดยครูเปิดเพลงคลอไปพร้อม ๆ กัน
4. ครูให้นักเรียนร้องเพลงแขกบรเทศพร้อม ๆ กันโดยไม่เปิดเพลง
5. ครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับปัญหาในการอ่านโน้ตและขับร้องเพลงแขกบรเทศ แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
6. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่องเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลเกี่ยวกับโน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major
7. ครูขอตัวแทนนักเรียนออกมาเขียนกุญแจซอลและกุญแจฟาบนกระดานให้เพื่อน ๆ ดูเพื่อเป็นการทบทวนความจำ จากนั้นครูให้นักเรียนอ่านโน้ตตามระดับเสียงต่าง ๆ ในกุญแจซอลและกุญแจฟาพร้อม ๆ กันทั้งห้อง
8. ครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับปัญหาในการอ่านโน้ตในกุญแจซอลและกุญแจฟา แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
                นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม อ่านโน้ตเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น และกิจกรรม อ่านโน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major และช่วยกันเฉลยคำตอบ
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ไปใช้ในการอ่านภาษาทางดนตรีและใช้ขับร้องเพลงหรือบรรเลงดนตรีตามเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีไทยและดนตรีสากล เพื่อจะได้ถูกต้องตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลงที่ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงออกมาได้อย่างไพเราะ
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
– นักเรียนฝึกอ่านและเขียนโน้ตเพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น หรือโน้ตไทยทำนองง่าย ๆ และฝึกร้องหรือบรรเลงเครื่องดนตรีที่สนใจให้ถูกต้องตามโน้ตและจังหวะ
– นักเรียนฝึกอ่านและเขียนโน้ตสากลในกุญแจซอลและฟาในบันไดเสียง C Major และฝึกร้องหรือบรรเลงเครื่องดนตรีสนใจให้ถูกต้องตามโน้ตและจังหวะ
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
– นักเรียนศึกษาเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีไทยและทางสากลอื่น ๆ เพิ่มเติมและฝึกใช้ให้ถูกต้องเมื่อมีการร้องเพลงหรือบรรเลงดนตรี 
– นักเรียนนำโน้ตเพลงที่ฝึกอ่านและเขียนมาร้องเป็นเพลงตามโน้ตให้ถูกต้องและแม่นยำ แล้วนำไปร้องในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. เทปหรือซีดีเพลงแขกบรเทศ 2 ชั้น
                2. เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีต่าง ๆ
3. ห้องสมุด
4. ใบกิจกรรม
5. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
                6. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                7. หนังสือแบบฝึกหัดดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรี
ในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
เวลา 2 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วงดนตรีและบทเพลง
1. สาระสำคัญ
                การเปรียบเทียบเสียงขับร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ สามารถสังเกตได้จากวิธีการขับร้องและลักษณะวิธีการบรรเลงของเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีแต่ละประเภท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของผู้ขับร้องและลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีนั้น ๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้ตามหลักการดังกล่าว
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน (ศ 2.1 ม. 1/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกันได้ (K)
2. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มั่นใจ และมีความสุข (A)
3. นำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมด้วยวิธีการร้องเพลงหรือวิธีการอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม (P)


4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจใบกิจกรรม
1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากการปฏิบัติตาม
   กิจกรรมที่กำหนด
2. สังเกตจากการทำงานร่วมกับ
   สมาชิกในกลุ่มอย่าง
   คล่องแคล่ว
3. สังเกตจากการเคลื่อนไหว
   ร่างกายอย่างคล่องแคล่วมั่นใจ

5. สาระการเรียนรู้
·   เสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
– วิธีการขับร้อง
– เครื่องดนตรีที่ใช้
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การบันทึกข้อมูล การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนกและการเปรียบเทียบ
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูขอตัวแทนนักเรียนออกมาร้องเพลงชาย 1 คน หญิง 1 คน แล้วถามเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนว่า เพื่อนร้องเพลงไพเราะหรือไม่ แล้วถามนักเรียนว่านักเรียนรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนร้องเพลงไพเราะหรือไม่ไพเราะ นักเรียนใช้หลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนก่อนเรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยอธิบายเกี่ยวกับวิธีการสังเกตลักษณะของวิธีการขับร้องและการใช้เครื่องดนตรีบรรเลงในบทเพลงต่าง ๆ ว่าจะต้องสังเกตในลักษณะเบื้องต้นอย่างไรบ้าง
2. ครูเปิดวีดิทัศน์การขับร้องเพลงที่ครูเห็นว่าเหมาะสมให้นักเรียนร่วมกันชมและฟัง แล้วช่วยกันวิจารณ์ตามหลักการหรือตามวิธีการที่จะต้องสังเกตว่ามีเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงในเพลงตรงตามหลักการหรือไม่ อย่างไร โดยครูคอยให้คำแนะนำ และเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ  โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลง แล้วนำข้อมูลมาอภิปราย และร้องหรือนำเสนอผลงานด้วยวิธีการอื่น ๆ หน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ไปใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะการขับร้องและลักษณะการบรรเลงของเครื่องดนตรีที่ใช้ในบทเพลงที่ตนสนใจว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ได้รับคุณค่าจากบทเพลงหรือดนตรีมากขึ้น
 8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
นักเรียนหาโอกาสชมการแสดงดนตรีจากสถานที่ต่าง ๆ และสังเกตลักษณะการใช้เสียงในการขับร้องและลักษณะการบรรเลงของเครื่องดนตรีตามหลักการ โดยการจดบันทึก แล้วนำมาอภิปรายหรือเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนฟังเพลงที่ตนสนใจหลาย ๆ เพลง แล้วฝึกวิเคราะห์เสียงขับร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้ว่ามีลักษณะอย่างไร พยายามฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. วีดิทัศน์เพลงประเภทต่าง ๆ
                2. เครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ
3. ใบกิจกรรม
4. ห้องสมุด
5. การแสดงดนตรีตามสถานที่ต่าง ๆ
6. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
                7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือแบบฝึกหัดดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้.............................................................................
                   แนวทางการพัฒนา..............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้......................................................................
                   แนวทางการแก้ไข................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)  

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
การเปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรี
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
เวลา 3 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วงดนตรีและบทเพลง
1. สาระสำคัญ
                การร้องเพลงหรือใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลงที่หลากหลายรูปแบบ เป็นการแสดงความสามารถทางดนตรีอีกวิธีหนึ่ง และบทเพลงที่สามารถนำมาฝึกร้องหรือบรรเลงดนตรีนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น บทเพลงพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น บทเพลงปลุกใจต่าง ๆ บทเพลงประสานเสียง 2 แนว บทเพลงรูปแบบ ABA หรือบทเพลงประกอบการเต้นรำต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความถนัดของแต่ละบุคคลที่ต้องการเลือกนำมาร้องหรือบรรเลง
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลงที่หลากหลายรูปแบบ (ศ 2.1 ม. 1/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเหตุผลในการเลือกบทเพลงสำหรับร้องหรือบรรเลงดนตรีได้ (K)
2. ร้องเพลงหรือบรรเลงดนตรีด้วยความสนุกสนาน มั่นใจ และมีความสุข (A)
3. เลือกบทเพลงสำหรับร้องหรือบรรเลงดนตรีได้อย่างเหมาะสม (P)
4. ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลงที่หลากหลายรูปแบบได้ (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจใบกิจกรรม
1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากการปฏิบัติตาม
   กิจกรรมที่กำหนด
2. สังเกตจากการปฏิบัติ
   กิจกรรมร่วมกับสมาชิกใน
   กลุ่มอย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากการเคลื่อนไหว
   ร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
   มั่นใจ
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   ประเมินความสามารถในการ
   ร้องเพลง
5. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   ประเมินความสามารถในการ
   บรรเลงเครื่องดนตรี
   ประกอบการร้องเพลง
5. สาระการเรียนรู้
·   การร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้อง
– บทเพลงพื้นบ้าน บทเพลงปลุกใจ        – บทเพลงรูปแบบ ABA
– บทเพลงไทยเดิม                                      – บทเพลงประกอบการเต้นรำ
– บทเพลงประสานเสียง 2 แนว
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การบันทึกข้อมูล การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการศึกษาบทเพลงพื้นบ้าน
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
ภาษาต่างประเทศ
คำศัพท์ทางดนตรีสากลและเนื้อเพลงสากล
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูขอตัวแทนนักเรียนออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียน 1–2 คน ตามความเหมาะสม แล้วถามนักเรียนทั้งหมดว่าเพลงที่เพื่อนร้องจัดอยู่ในเพลงประเภทใด ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น จากนั้นครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่าเพลงที่เพื่อนออกมาร้องนั้นจัดอยู่ในเพลงประเภทใด
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง โดยอธิบายเกี่ยวกับการร้องเพลงและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องดังนี้
– บทเพลงพื้นบ้าน                     – บทเพลงประสานเสียง 2 แนว
– บทเพลงปลุกใจ                        – บทเพลงรูปแบบ ABA (Ternary form)
– บทเพลงไทยเดิม                      – บทเพลงประกอบการเต้นรำ

2. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจับสลากหัวข้อบทเพลงสำหรับฝึกร้องดังนี้
1) บทเพลงพื้นบ้าน                    4) บทเพลงประสานเสียง 2 แนว
2) บทเพลงปลุกใจ                      5) บทเพลงรูปแบบ ABA (Ternary form)
3) บทเพลงไทยเดิม                    6) บทเพลงประกอบการเต้นรำ
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงที่กลุ่มจับสลากได้หน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม ร้องเพลงที่สนใจ และกิจกรรม บรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลงที่ตนใจ แล้วออกมานำเสนอข้อมูลพร้อมทั้งบอกเหตุผลในการเลือกร้องเพลงนั้น
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง ไปประยุกต์ใช้ในการเลือกบทเพลงต่าง ๆ มาฝึกร้องและฝึกบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง เพื่อใช้แสดงความสามารถของตนเองในโอกาสต่าง ๆ และยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
นักเรียนร่วมกันจัดประกวดร้องเพลงเพลงพื้นบ้าน เพลงปลุกใจ เพลงไทยเดิม เพลงประสาน
เสียง 2 แนว เพลงรูปแบบ ABA เพลงประกอบการเต้นรำ หรือเพลงร้องทั่วไป โดยผู้เข้าประกวดจะต้องเล่นเครื่องดนตรีประกอบด้วย เครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้อย่างน้อย 1 ชิ้น และเชิญครูหรือผู้รู้ด้านดนตรีในชุมชนร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันฝึกร้องเพลงตามตัวอย่างในหนังสือเรียนหรือเพลงอื่น ๆ ที่สนใจ พร้อมทั้งบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลงด้วย โดยใช้เครื่องดนตรีที่สมาชิกในกลุ่มเล่นได้ และหาโอกาสแสดงความสามารถให้ผู้อื่นได้ฟังและชมในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. บทเพลงประเภทต่าง ๆ
                2. เครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ 
3. ผู้รู้ด้านดนตรีในชุมชน
4. ใบกิจกรรม
5. ห้องสมุด 
6. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
                7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือแบบฝึกหัดดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)


กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วงดนตรีและบทเพลง
1. สาระสำคัญ
                เครื่องดนตรีแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทมีวิธีการใช้และการดูแลรักษาตามลักษณะเฉพาะของเครื่องนั้น ๆ การใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรีตามหลักวิธีได้อย่างถูกต้องจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องดนตรีได้นานยิ่งขึ้น
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ (ศ 2.1 ม. 1/9)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีได้ถูกต้อง (K)
2. ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ (A)
              3. ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและปลอดภัย (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจแบบทดสอบ
   หลังเรียน
4. จากการตรวจใบกิจกรรม
1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับฟัง
   ความคิดเห็นของผู้อื่นขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   การประเมินผลด้านคุณธรรม
   จริยธรรม และค่านิยม
1. สังเกตจากการปฏิบัติตาม
   กิจกรรมที่กำหนด
2. สังเกตจากการทำงานร่วมกับ
   สมาชิกในกลุ่มอย่าง
   คล่องแคล่ว
3. สังเกตจากการเคลื่อนไหว
   ร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
   มั่นใจ
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   การประเมินผลด้านทักษะ/
   กระบวนการ
5. สาระการเรียนรู้
·   การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีของตน
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจับคู่และการจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกตและการสืบค้นข้อมูล 
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและการสร้างมนุษยสัมพันธ์
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
การงานอาชีพฯ
การใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรี
ภาษาต่างประเทศ
ชื่อของเครื่องดนตรีสากลชนิดต่าง ๆ  
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเล่นเกมแข่งขันกันเขียนชื่อเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลในเวลาที่ครูกำหนด กลุ่มใดเขียนได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ (นับเฉพาะชื่อเครื่องดนตรีที่ไม่ซ้ำกัน)
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเครื่องดนตรีหรือภาพเครื่องดนตรีมาให้นักเรียนดู หรือพานักเรียนไปดูเครื่องดนตรีในห้องดนตรี และถามนักเรียนเกี่ยวกับชื่อเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นและวิธีการเล่น เพื่อทบทวนความจำ
2. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี เกี่ยวกับวิธีการใช้และการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลแต่ละชนิดให้นักเรียนทราบ และให้นักเรียนดูหนังสือเรียนประกอบ
3. ครูนำภาพเครื่องดนตรีมาให้นักเรียนดูทีละชนิด แล้วให้นักเรียนร่วมกันหรือเลือกสุ่มตัวแทนบอกวิธีการใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรีที่อยู่ในภาพ โดยครูคอยอธิบายเพิ่มเติม
4. ให้นักเรียนทดลองใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีเบื้องต้นตามที่ครูคิดว่าเหมาะสม โดยครูคอยให้คำแนะนำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
1. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยและกิจกรรม การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากล แล้วขอตัวแทนนักเรียนออกมาสาธิตการปฏิบัติการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
3. ให้นักเรียนทำโครงงานตามความสนใจ


ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง การใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรีเบื้องต้น ไปใช้ในการบรรเลงและดูแลรักษาเครื่องดนตรีของตนเองตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งนำความรู้เกี่ยวกับการใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรีในระดับเบื้องต้นไปแนะนำให้ผู้อื่นทราบได้อย่างถูกต้อง
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเพิ่มเติมจากครูดนตรีหรือผู้รู้ด้านดนตรี แล้วปฏิบัติตามเพื่อเป็นการรักษาและถนอมเครื่องดนตรีให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนฝึกทำความสะอาดเครื่องดนตรีแต่ละชนิดหรือประเภทตามหลักปฏิบัติอย่างถูกวิธี หรือหลังการบรรเลงเครื่องดนตรี ให้ปฏิบัติตามวิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรีเบื้องต้นก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อให้เครื่องดนตรีมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลชนิดต่าง ๆ
2. ภาพเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลชนิดต่าง ๆ
3. ใบกิจกรรม
4. ห้องดนตรี
5. ห้องสมุด
6. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
                7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือแบบฝึกหัดดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)




กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา




 ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่  2 วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน                                         
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความเร็วของจังหวะ และความดัง–เบาแตกต่างกัน (ศ 2.1 ม. 1/5)
2. เปรียบเทียบอารมณ์ ความรู้สึกในการฟังดนตรีแต่ละประเภท (ศ 2.1 ม. 1/6)
3. นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบและอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานนั้นน่าชื่นชม
(ศ 2.1 ม. 1/7)
4. ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพงานดนตรีหรือเพลงที่ฟัง (ศ 2.1 ม. 1/8)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. บทเพลงแต่ละบทเพลงมีการถ่ายทอดอารมณ์
   เพลงโดยอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
   จังหวะและความดัง–เบาของเสียง เป็นต้น
2. การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจสามารถทำ   ได้หลายวิธี เช่น การร้องเพลง การบรรเลง
   เครื่องดนตรี การวิเคราะห์ลักษณะเด่นของ
   เพลงแล้วนำมาอภิปราย เป็นต้น
3. บทเพลงแต่ละเพลงจะมีลักษณะเด่นแตกต่าง
   กันไปดังนี้ ด้านเนื้อหา ด้านแนวเพลง และ
   ด้านองค์ประกอบดนตรี 
4. คุณภาพของบทเพลงมีส่วนช่วยทำให้บทเพลงมีคุณค่าและเกิดความไพเราะได้
คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
1. จังหวะดนตรีมีส่วนสัมพันธ์กับอารมณ์เพลง
   อย่างไร
2. ความดัง–เบามีส่วนสัมพันธ์กับอารมณ์เพลง
   อย่างไร
3. นักเรียนมีวิธีการนำเสนอบทเพลงที่ตนเอง
   สนใจให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างไร
4. นักเรียนมีเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของ
   งานดนตรีหรือบทเพลงที่ฟังอย่างไร

ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า...
1. คำสำคัญที่ควรรู้ ได้แก่ เอกภาพและอมตะ
2. ลีลาจังหวะสามารถทำให้เกิดความรู้สึกหรือ
   อารมณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น เพลงที่มีจังหวะช้า
   สามารถถ่ายทอดอารมณ์เศร้า อ่อนหวาน หรือ
   ท้อแท้สิ้นหวังได้ดีกว่าเพลงที่มีจังหวะเร็ว
3. ความดัง–เบาของเสียงร้องหรือเสียงดนตรี
   สามารถถ่ายทอดอารมณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น เพลง
   ที่มีการร้องโดยใช้เสียงดัง ๆ ก็จะทำให้เพลง
   นั้นถ่ายทอดอารมณ์ที่ดุดันเข้มแข็งมากกว่า
   เพลงที่ใช้เสียงร้องเบานุ่มนวล
4. ลักษณะเด่นของเพลงด้านเนื้อหาจะต้องมีความเป็นเอกภาพ ลักษณะเด่นของเพลงด้านแนวเพลงตรงตามกลุ่มคนฟัง และลักษณะเด่นของเพลงด้านองค์ประกอบดนตรีครบ เหมาะสมและมีความสมบูรณ์ เป็นต้น
5. การประเมินคุณภาพของบทเพลงต้องประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา คุณภาพด้านเสียง และคุณภาพด้านองค์ประกอบดนตรี
ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะสามารถ...
1. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความเร็วของจังหวะแตกต่างกันได้
2. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความดัง–เบาของเสียงแตกต่างกันได้
3. เปรียบเทียบอารมณ์และความรู้สึกในการฟัง
   เพลงหรือดนตรีแต่ละประเภท
4. นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบ
5. อภิปรายลักษณะเด่นของเพลงที่ตนเองชื่นชอบ
6. ประเมินคุณภาพงานดนตรีหรือเพลงที่ฟังได้
   อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามเกณฑ์


ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่
       กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– วิเคราะห์จังหวะกับการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง
– วิเคราะห์ความดัง–เบากับการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง
– ปฏิบัติท่าทางตามระดับเสียงดังและเสียงเบา
– อภิปรายลักษณะการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงที่สนใจ
– ร้องเพลงหรือนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ
– ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีประกอบการร้องเพลง
– อภิปรายลักษณะเด่นของบทเพลงที่นำเสนอ
– ประเมินคุณภาพของบทเพลงด้านเนื้อหา ด้านเสียง และด้านองค์ประกอบดนตรี
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
การทดสอบ
การสนทนาซักถามโดยครู
การแสดงความคิดเห็น การอภิปราย
การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
การประเมินผลด้านความรู้
การประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
   และค่านิยม
การประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ
เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– ใบกิจกรรม
แบบประเมินผลด้านความรู้
แบบประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
  ค่านิยม
แบบประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– วิเคราะห์จังหวะกับการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงได้
– วิเคราะห์ความดัง–เบากับการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงได้
– ปฏิบัติท่าทางตามระดับเสียงดังและเสียงเบาได้ถูกต้อง
– อภิปรายลักษณะการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงที่สนใจได้
– ร้องเพลงหรือนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้
– ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีประกอบการร้องเพลงได้
– อภิปรายลักษณะเด่นของบทเพลงที่นำเสนอได้
– ประเมินคุณภาพของบทเพลงด้านเนื้อหา ด้านเสียง และด้านองค์ประกอบดนตรีได้
พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความสนุกสนาน

ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้                              
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง                             1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ                            2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 การประเมินคุณภาพของบทเพลง                             1 ชั่วโมง















แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง
เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 2  ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี
1. สาระสำคัญ

บทเพลงแต่ละบทเพลงมีการถ่ายทอดอารมณ์โดยอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น จังหวะ ความดัง–ของเสียง เป็นต้น เมื่อบทเพลงมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะหรือความดัง–เบาของเสียงดนตรี ก็สามารถทำให้เกิดความแตกต่างทางด้านอารมณ์เพลงได้
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความเร็วของจังหวะ และความดัง–เบาแตกต่างกัน (ศ 2.1 ม. 1/5)
2. เปรียบเทียบอารมณ์ ความรู้สึกในการฟังดนตรีแต่ละประเภท (ศ 2.1 ม. 1/6)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้  
                1. วิเคราะห์ว่าเพลงที่มีจังหวะที่ต่างกันสามารถสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ได้ (K)
2. วิเคราะห์ว่าเพลงที่มีเสียงดังและเบาต่างกันสามารถสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ได้ (K)
3. อภิปรายลักษณะการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงที่สนใจได้ (K)
4. คิดประดิษฐ์ท่าทางเกี่ยวกับเสียงดังและเบาได้ (K)
5. ปฏิบัติกิจกรรมดนตรีด้วยความสนุกสนานและมั่นใจ (A)
6. นำบทเพลงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)
7. ปฏิบัติท่าทางที่คิดขึ้นตามระดับเสียงดังและเบาได้ (P)
8. นำเสนอผลงานโดยวิธีการร้องหรือวิธีการอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจแบบทดสอบ
   ก่อนเรียน
3. จากการตรวจการวัดและประ
   เมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
1. สังเกตจากความสนใจ
   และความกระตือรือร้นใน
   การปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
   และปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตจากการปฏิบัติ 
   กิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   ปฏิบัติตามขั้นตอน


5. สาระการเรียนรู้
·   การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง
– จังหวะกับอารมณ์เพลง              – ความดัง–เบากับอารมณ์เพลง
– ความแตกต่างของอารมณ์เพลง
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและการสร้างมนุษยสัมพันธ์
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้
2. ครูเปิดเพลงที่มีจังหวะช้า จังหวะปานกลาง จังหวะเร็ว และเพลงที่มีการใช้เสียงร้องหรือเสียงดนตรีที่มีความดัง–เบาแตกต่างกันไปให้นักเรียนฟัง แล้วถามนักเรียนว่าเพลงที่มีจังหวะและความดัง–เบาของเพลงแบบใดที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์สนุกสนานได้ดี ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง เกี่ยวกับจังหวะกับอารมณ์ของบทเพลง และความดัง–เบากับอารมณ์ของบทเพลง โดยอธิบายให้นักเรียนทราบถึงลักษณะของการถ่ายทอดอารมณ์เพลงที่เกิดจากจังหวะและความดัง–เบาของบทเพลง แล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม และอธิบายเพิ่มเติมพร้อมทั้งยกตัวอย่าง 
2. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน โดยกลุ่มที่ 1 ศึกษาเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ของจังหวะและกลุ่มที่ 2 ศึกษาเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ของความดัง–เบาของเสียงดนตรี แล้วร่วมกันอภิปรายหน้าชั้นเรียน
3. ครูตั้งคำถามนักเรียนว่าจังหวะแบบใดที่สื่ออารมณ์เศร้าได้ดีที่สุด หรือเพลงที่มีการใช้ระดับเสียงแบบใดที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกเศร้าได้ดีที่สุด เพื่อเป็นการประเมินความเข้าใจของนักเรียน ให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
4. ครูอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของอารมณ์เพลง ว่ามีอารมณ์เพลงแบบใดบ้างที่เกิดจากความไพเราะของดนตรีหรือบทเพลงต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างชื่อเพลงที่รู้จักพร้อมทั้งบอกว่าเพลงนั้นสื่อหรือถ่ายทอดอารมณ์ใดออกมา
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
                นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนนักเรียน
1. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม สื่ออารมณ์ด้วยจังหวะเพลงและกิจกรรม สื่ออารมณ์ด้วยความดัง–เบาของบทเพลง และช่วยกันเฉลย
2. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม ความแตกต่างของอารมณ์เพลง แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง ไปใช้ในการเลือกฟังเพลงที่มีการใช้องค์ประกอบดนตรีที่สามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้ตรงกับอารมณ์ของตนเองในขณะที่ต้องการฟังเพลงได้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เช่น วันที่นักเรียนรู้สึกอารมณ์ดีก็ต้องเลือกฟังเพลงที่มีจังหวะคึกคักและมีเสียงดังพอสมควร เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในขณะนั้น เป็นต้น
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
ใช้จังหวะและระดับเสียงดัง–เบาของเพลงที่ตนเองชื่นชอบสื่ออารมณ์ของตนเองให้เพื่อน ๆ ทาย โดยอาจสร้างสรรค์จังหวะและระดับความดัง–เบาของเสียงขึ้นเองตามอารมณ์ที่ตนเองต้องการถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ ทายก็ได้
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันศึกษาลักษณะการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงที่สนใจหลาย ๆ เพลง แล้วเปรียบเทียบอารมณ์และความรู้สึกของบทเพลงแต่ละบทเพลงว่าแตกต่างกันอย่างไร แล้วนำมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. ห้องดนตรี
3. รายการประกวดขับร้องเพลงหรือดนตรีทางสถานีโทรทัศน์
4. บทเพลงประเภทต่าง ๆ
5. ใบกิจกรรม
6. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
                7. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือแบบฝึกหัด ดนตรี ชั้น ม. 1
 10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา


แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 7
การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ
เวลา 2 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี
1. สาระสำคัญ
ในการนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การร้องเพลง การบรรเลงเครื่องดนตรี การนำเพลงมาอภิปราย และวิธีการอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในลักษณะเด่นของบทเพลงที่ตนเองสนใจด้วย
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบและอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานนั้นน่าชื่นชม (ศ 2.1 ม. 1/7)3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อภิปรายลักษณะเด่นของบทเพลงที่นำเสนอได้ (K)
2. ปฏิบัติกิจกรรมดนตรีด้วยความสนุกสนานและมั่นใจ (A)
3. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีประกอบการร้องเพลงได้ (P)4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจใบกิจกรรม

1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
   และปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตจากการปฏิบัติ
   กิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   ปฏิบัติตามขั้นตอน

5. สาระการเรียนรู้
·   การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและการสร้างมนุษยสัมพันธ์
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูขอตัวแทนนักเรียนออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียน 1 เพลง แล้วสัมภาษณ์นักเรียนว่า เพลงที่ร้องชื่อเพลงอะไร มีลักษณะเด่นที่ใด และทำไมจึงเลือกร้องเพลงนี้     
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ เกี่ยวกับลักษณะเด่นของเพลงที่เราต้องการนำเสนอในด้านของเนื้อหา ด้านแนวเพลง และด้านองค์ประกอบดนตรีให้นักเรียนฟังว่ามีลักษณะอย่างไร
2. ครูยกตัวอย่างเพลง 1 เพลงที่มีลักษณะเด่นของเพลงตามลักษณะเด่นด้านเนื้อหา ด้านแนวเพลง และด้านองค์ประกอบดนตรี และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในสิ่งที่สงสัย
3. แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 4–5 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันเลือกเพลงที่กลุ่มสนใจ 1 เพลง แล้วช่วยกันบอกลักษณะเด่นของเพลง โดยเขียนลงในกระดาษตามหัวข้อดังนี้
- ชื่อเพลง
- ลักษณะเด่นด้านเนื้อหา
- ลักษณะเด่นด้านแนวเพลง
- ลักษณะเด่นด้านองค์ประกอบดนตรี
4. ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และให้ตัวแทนหรือกลุ่มร้องเพลงให้เพื่อน ๆ ฟัง
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม นำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนทีละคน




ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ ไปใช้ในเลือกเพลงที่มีลักษณะเด่นตรงตามลักษณะเด่นด้านเนื้อหา ด้านแนวเพลง และด้านองค์ประกอบดนตรี เพื่อนำมาขับร้องหรือบรรเลงให้ผู้อื่นฟังได้อย่างไพเราะและมีความหมาย
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
จัดประกวดร้องเพลงเพื่อสร้างความกล้าแสดงออก และสร้างความมั่นใจให้ตนเอง 
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
ฟังเพลงหลาย ๆ เพลง และหลาย ๆ แนว แล้วสรุปลักษณะเด่นของแต่ละเพลง และนำมาเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน ๆ หรือผู้ที่สนใจ
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. ห้องดนตรี
3. รายการประกวดขับร้องเพลงหรือดนตรีทางสถานีโทรทัศน์
4. บทเพลงประเภทต่าง ๆ
5. ใบกิจกรรม
6. สื่อการเรียนรู้ ดนตรีบ ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
                7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือแบบฝึกหัด ดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)





กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
การนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา
                                                                                                                        




                                                                                                                                แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 
การประเมินคุณภาพของบทเพลง
เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี
1. สาระสำคัญ
บทเพลงแต่ละเพลงมีความไพเราะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของการสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้ประพันธ์ แต่ก็มีเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของบทเพลงหรือดนตรีที่ฟังเช่นกัน คือ เกณฑ์ในการประเมินคุณภาพด้านของเนื้อหา คุณภาพด้านเสียง และคุณภาพด้านองค์ประกอบดนตรี  
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพงานดนตรีหรือเพลงที่ฟัง (ศ 2.1 ม. 1/8)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ประเมินคุณภาพของบทเพลงด้านเนื้อหา ด้านเสียง และด้านองค์ประกอบดนตรีได้ (K)
2. ปฏิบัติกิจกรรมดนตรีด้วยความสนุกสนานและมั่นใจ (A)
3. ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพงานดนตรีหรือเพลงที่ฟังได้อย่างเหมาะสม (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจแบบทดสอบ
   หลังเรียน
4. จากการตรวจใบกิจกรรม 
1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   การประเมินผลด้านคุณธรรม
   จริยธรรม และค่านิยม
1. สังเกตพฤติกรรมขณะปฏิบัติ
   กิจกรรมรายบุคคล และ
   ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมได้
   อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตความตั้งใจและปฏิบัติ
   ตามขั้นตอน
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   การประเมินผลด้านทักษะ/
   กระบวนการ


5. สาระการเรียนรู้
·   การประเมินคุณภาพของบทเพลง
– คุณภาพด้านเนื้อหา                    
– คุณภาพด้านเสียง
– คุณภาพด้านองค์ประกอบดนตรี
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกต
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและการสร้างมนุษยสัมพันธ์
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
ภาษาต่างประเทศ
เนื้อเพลงสากล

. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูเปิดเพลงให้นักเรียนฟัง 1 เพลง แล้วถามนักเรียนว่า เพลงที่ครูเปิดนั้นมีความไพเราะหรือไม่ และนักเรียนทราบได้อย่างไร ให้นักเรียนร่วมกันตอบเพื่อประเมินความรู้ก่อนเรียนของนักเรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง การประเมินคุณภาพของบทเพลง โดยอธิบายเกี่ยวกับความไพเราะ ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในความรู้สึกของแต่ละบุคคล แต่ก็มีเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของบทเพลงหรือดนตรีที่ฟังเช่นกัน คือ เกณฑ์ในการประเมินคุณภาพด้านของเนื้อหา คุณภาพด้านเสียง และคุณภาพด้านองค์ประกอบดนตรี โดยให้นักเรียนดูเนื้อหาในหนังสือเรียนประกอบ  
2. ครูถามนักเรียนว่าเพลงที่นักเรียนคิดว่าดีมีคุณภาพ ควรจะมีเนื้อหาของเพลง เสียงร้องหรือเสียงของเครื่องดนตรี และลักษณะของการใช้องค์ประกอบดนตรีเป็นอย่างไร ตามลำดับ ให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
                3. ครูยกตัวอย่างเพลงที่เปิดให้นักเรียนฟังหรือให้นักเรียนร่วมยกตัวอย่าง 1 เพลง แล้วอธิบายคุณภาพของเพลงทั้ง 3 ด้านให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น แล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
                นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง การประเมินคุณภาพของบทเพลง โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนนักเรียน
1. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม ประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของเพลง กิจกรรม ประเมินคุณภาพด้านเสียงของเพลง และกิจกรรม ประเมินคุณภาพด้านองค์ประกอบดนตรี แล้วแต่ละคนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
3. ให้นักเรียนทำโครงงานตามความสนใจ

ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง การประเมินคุณภาพของบทเพลง ไปใช้ในการประเมินคุณภาพของผลงานดนตรีต่าง ๆ ที่สนใจ และนำไปใช้เป็นมาตรฐานเพื่อฝึกฝนผลงานดนตรีของตนเองให้ได้ตามมาตรฐานและมีคุณภาพ
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
ฝึกประเมินคุณภาพของบทเพลงหรือดนตรีหลาย ๆ เพลงโดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพของบทเพลง และสรุปเป็นข้อมูล แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันศึกษาคุณภาพของเพลงที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ชื่นชอบหลาย ๆ คน แล้วใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพของบทเพลง และสรุปเป็นข้อมูล แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
                2. ห้องดนตรี
3. รายการประกวดขับร้องเพลงหรือดนตรีทางสถานีโทรทัศน์
4. เพลงประเภทต่าง ๆ
5. เครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ
6. ใบกิจกรรม
7. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1 ด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
การประเมินคุณภาพของบทเพลง
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา



ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ดนตรีกับมรดกทางวัฒนธรรม
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย (ศ 2.2 ม. 1/1)
2. ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในวัฒนธรรมต่างกัน (ศ 2.2 ม. 1/2)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. องค์ประกอบดนตรีเป็นส่วนสำคัญในการ
   สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรี และมีความ
   แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม ได้แก่
   องค์ประกอบของดนตรีไทย องค์ประกอบของ
   ดนตรีสากล และองค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน
2. ดนตรีหรือบทเพลงมีบทบาทในสังคมมากมาย  ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งจรรโลงใจให้เกิดความรัก ขจัดความกลัวได้
3. ดนตรีเป็นสิ่งมีคุณค่าและสามารถเสริมสร้างให้มนุษย์มีความสุขได้
คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
1. องค์ประกอบของดนตรีไทยต่างจาก
   องค์ประกอบของดนตรีสากลอย่างไร
2. ดนตรีพื้นบ้านมีองค์ประกอบหลักร่วมกันคือ
   อะไรบ้าง
3. ดนตรีหรือบทเพลงมีบทบาทต่อสังคมไทย
   อย่างไร
4. ดนตรีตะวันตกหรือดนตรีของชาติอื่น ๆ มี
   อิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า...
1. คำสำคัญที่ควรรู้ ได้แก่ เพลงประเภททยอย
   ดุริยางคศิลป์ไทย ขั้นคู่เสียง และกลุ่มคอร์ด
2. องค์ประกอบของดนตรีไทย เช่น บันไดเสียง
   จังหวะเพลงไทย ทำนองเพลงไทย การประสาน เสียง รูปแบบ อารมณ์เพลง ส่วนองค์ประกอบของดนตรีสากล เช่น เสียง จังหวะดนตรี ทำนองเพลง เสียงประสาน พื้นผิวของดนตรี สีสันของเสียง รูปแบบของเพลงหรือคีตลักษณ์
   และองค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านจะมี
   ลักษณะหลักร่วมกัน คือ ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัว แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์
   เฉพาะถิ่น มีท่วงทำนองสั้น ๆ จดจำง่าย
3. บทบาทของดนตรีในสังคมมีมากมาย ได้แก่ ใช้เพื่อการผ่อนคลายความเครียด ใช้ในงานรื่นเริง ใช้ประกอบกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ใช้ในพิธีการ และใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
4. การร้องรำทำเพลง การฟังเพลง ตลอดจนการ
   ชมการแสดงต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งช่วยบรรเทาหรือ
   ช่วยลดความเครียดของคนได้ดีที่สุด
ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะสามารถ...
1. บอกหรือระบุความหลากหลายของ
   องค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
2. วิเคราะห์ความแตกต่างในการเลือกใช้
   องค์ประกอบดนตรีในเพลงแต่ละประเภท
3. ประยุกต์ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมใน
   ชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม
4. อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของ
   ดนตรีที่มีต่อสังคมไทย

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่
        กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีไทย ดนตรีสากล และดนตรีพื้นบ้าน
ร้องเพลงหรือนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ
อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย
อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมหรือชุมชนของตนเอง
ประยุกต์ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตนเองและครอบครัว
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
การทดสอบ
การสนทนาซักถามโดยครู
การอภิปรายหน้าชั้นเรียน
การประเมินผลด้านความรู้
การประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
  ค่านิยม
การประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ
เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
ใบกิจกรรม
แบบประเมินผลด้านความรู้
แบบประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
  ค่านิยม
แบบประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมได้
วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีไทย ดนตรีสากล และดนตรี
  พื้นบ้านได้
ร้องเพลงหรือนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้
อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทยได้
อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมหรือชุมชนของตนเองได้
ประยุกต์ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตนเองและครอบครัวได้
พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความสนุกสนาน
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้                              
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม                      2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 บทบาทและอิทธิพลของดนตรี                                1 ชั่วโมง




แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
เวลา 2 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ดนตรีกับมรดกทางวัฒนธรรม
1. สาระสำคัญ
องค์ประกอบของดนตรีไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทย ดนตรีสากล หรือดนตรีพื้นบ้าน ต่างก็มีบทบาทหน้าที่และมีความสำคัญในแต่ละวัฒนธรรม ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดเป็นบทเพลงหรือเกิดเป็นดนตรีที่มีความไพเราะ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (ศ 2.2 ม. 1/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมได้ (K)
2. วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีได้ (K)
3. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ (A)
4. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินและมั่นใจ (A)
5. เห็นความสำคัญและประโยชน์ขององค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (A)
6. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบดนตรีต่าง ๆ ได้ (P)
7. สืบค้นข้อมูลเพลงหรือดนตรีได้ตรงตามลักษณะขององค์ประกอบดนตรี (P)
8. ร้องเพลงหรือนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจแบบทดสอบ
   ก่อนเรียน
4. จากการตรวจใบกิจกรรม

1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
   และปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตจากการปฏิบัติ
   กิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   ปฏิบัติตามขั้นตอน

5. สาระการเรียนรู้
·   องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การบันทึกข้อมูล การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกตและการสืบค้นข้อมูล 
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการศึกษาองค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
ภาษาต่างประเทศ
คำศัพท์ทางดนตรี เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี และเนื้อเพลงสากล
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้
2. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่ารู้จักองค์ประกอบดนตรีของดนตรีไทย องค์ประกอบดนตรีของดนตรีสากล และองค์ประกอบดนตรีของดนตรีพื้นบ้านอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบและร่วมกันแสดงความคิดเห็น

ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เกี่ยวกับองค์ประกอบดนตรีไทย องค์ประกอบดนตรีสากล และองค์ประกอบดนตรีพื้นบ้าน ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบใด และมีความสำคัญต่อบทเพลงหรือดนตรีอย่างไร
2. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่ององค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม ดังนี้
·   กลุ่มที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของดนตรีไทย
·   กลุ่มที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของดนตรีสากล
·   กลุ่มที่ 3 เรื่อง องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน
3. ให้แต่ละกลุ่มออกมาอภิปรายลักษณะเด่นของเรื่องที่กลุ่มได้ไปศึกษาค้นคว้าให้ครูและ
เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนฟัง แล้วร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้


ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีไทย กิจกรรม วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีสากล   และกิจกรรม วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน แล้วช่วยกันเฉลยหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม ไปใช้ในการระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรี และเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะขององค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เพื่อเป็นความรู้เสริมในการเรียนหรือหัดเล่นดนตรีไทย ดนตรีสากล และดนตรีพื้นบ้านที่สนใจในโอกาสต่อไป 
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของดนตรีไทย องค์ประกอบของดนตรีสากล และองค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านเพิ่มเติมอย่างละเอียด แล้วฝึกบรรยายเพลงไทย เพลงไทยสากล เพลงสากล และเพลงพื้นบ้านที่ฟัง ตามลักษณะขององค์ประกอบดนตรีแต่ละประเภท
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันจำแนกองค์ประกอบของดนตรีไทย องค์ประกอบของดนตรีสากล และองค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านจากเพลงที่กลุ่มสนใจ โดยเขียนว่าท่อนเพลงท่อนใดที่มีลักษณะตรงตามองค์ประกอบของดนตรีเบื้องต้น สรุป แล้วนำมาอภิปราย
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. เพลงไทย เพลงไทยสากล เพลงสากล และเพลงพื้นบ้าน
2. ใบกิจกรรม
3. ห้องสมุด
                4. ห้องดนตรี
                5. ผู้รู้ด้านดนตรีประเภทต่าง ๆ ในชุมชน
6. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
                8. หนังสือแบบฝึกหัด ดนตรี ชั้น ม. 1
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)


กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒธรรม
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
บทบาทและอิทธิพลของดนตรี
เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ดนตรีกับมรดกทางวัฒนธรรม
1. สาระสำคัญ
                ดนตรีหรือบทเพลงมีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อสังคมไทย เช่น ใช้เพื่อการผ่อนคลายความเครียด ใช้ในงานรื่นเริง ใช้ประกอบกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ใช้ในพิธีการ ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น ดังนั้นดนตรีจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อมนุษย์ 
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย (ศ 2.2 ม. 1/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทยได้ (K)
2. อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมหรือชุมชนของตนเองได้ (K)
3. เห็นคุณค่าของความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมหรือชุมชนของตนเอง (A)
4. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ (A)
              5. ประยุกต์ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตนเองและครอบครัวได้ (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจแบบทดสอบ
   หลังเรียน
4. จากการตรวจใบกิจกรรม

1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบการประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
   และปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตจากการปฏิบัติ
   กิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   ปฏิบัติตามขั้นตอน
4. ประเมินพฤติกรรมตามแบบ
   การประเมินผลด้านทักษะ/
   กระบวนการ
5. สาระการเรียนรู้
·   บทบาทและอิทธิพลของดนตรี
– บทบาทดนตรีในสังคม
– อิทธิพลของดนตรีในสังคม
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การบันทึกข้อมูล การอธิบาย การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกตและการสืบค้นข้อมูล 
สังคมศึกษาฯ
การเลือกเพลงหรือวงดนตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อสังคมหรือชุมชน
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
การงานอาชีพฯ
การประยุกต์ใช้กิจกรรมทางดนตรีกับชีวิตประจำวันของตนเอง
ภาษาต่างประเทศ
คำศัพท์ทางดนตรีหรือเนื้อเพลงสากล
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่า ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีการนำดนตรีหรือบทเพลงมาใช้ในกิจกรรมใดบ้าง ครูสุ่มเลือกตัวแทนนักเรียนตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นให้เพื่อน ๆ ในห้องฟัง  หลังจากนั้นครูยกตัวอย่างการนำดนตรีหรือบทเพลงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 1–2 ตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การฟังเพลงระหว่างรอรถรับส่งนักเรียน การเต้นแอโรบิกตามจังหวะดนตรี เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง บทบาทและอิทธิพลของดนตรี โดยอธิบายเกี่ยวกับบทบาทของดนตรีในสังคมที่เราสามารถพบเห็นในปัจจุบัน เช่น การใช้ดนตรีเพื่อผ่อนคลายความเครียด การใช้ดนตรีในงานรื่นเริง การใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ การใช้ดนตรีในพิธีการ การใช้ดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น โดยให้นักเรียนดูเนื้อหาในหนังสือเรียนประกอบ
2. ครูสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทของดนตรีในชุมชนของนักเรียน ที่เคยเห็นการใช้ดนตรีในกิจกรรมต่าง ๆ และให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง บทบาทและอิทธิพลของดนตรี โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 4 ฝึกฝนนักเรียน
1. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม ประยุกต์ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตนเอง และ กิจกรรม อธิบายบทบาทของดนตรีที่มีต่อสังคม แล้วให้แต่ละคนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
3. ให้นักเรียนทำโครงงานตามความสนใจ
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง บทบาทและอิทธิพลของดนตรี ไปใช้เป็นแนวทางในการเลือกชมการแสดงดนตรีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนของตนเอง
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
ศึกษาลักษณะการประยุกต์ใช้ดนตรีหรือบทเพลงของสมาชิกในครอบครัว และสรุปว่าสมาชิก
แต่ละคนใช้ดนตรีหรือบทเพลงประกอบกิจกรรมใดบ้างในแต่ละวัน แล้วนำมาเล่าให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
                นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันศึกษาชื่อเพลงหรือวงดนตรีที่ใช้สำหรับฟังและร้องในงานรื่นเริง ใช้ประกอบกิจกรรมการแสดง ใช้ในพิธีการ และใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในชุมชนของตนเองหรือชุมชนใกล้เคียง แล้วเขียนสรุปมาเป็นข้อ ๆ ให้ได้มากที่สุด นำมาอภิปรายให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. กิจกรรมการแสดงดนตรีในชุมชน
2. บทเพลงและวงดนตรีต่าง ๆ
3. ใบกิจกรรม
4. ห้องสมุด
             
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้



1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)




กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
บทบาทและอิทธิพลของดนตรี
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา


ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การปฏิบัติเครื่องดนตรี(ขลุ่ย) เป็นรายบุคคล

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ(ศ 2.1 ม. 1/9)
2. นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบ และอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานนั้นน่าชื่นชม(ศ 2.1 ม. 1/7)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. ลักษณะของเครื่องดนตรี เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า
    มีส่วนประกอบต่างๆที่ต้องรู้จักเพื่อการใช้และ
    บำรุงรักษาอย่างถูกวิธี
 
2. ปฏิบัติ  หมายถึง การใช้ส่วน ของร่างกาย ได้แก่ นิ้วมือ
    ริมฝีปาก การเป่าลม  ใช้แสดงการปฏิบัติ 
3. การแสดง หมายถึง การปฏิบัติเครื่องดนตรีเพื่อสื่อสาร
    ความหมาย  ให้เห็นถึงอารมณ์  ความรู้สึกที่อยู่ภายใน
    รวมถึงกิริยาหรือ อิริยาบถต่าง ๆ
4. ชื่นชมในดนตรี ดนตรีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความไพเราะงดงามช่วยให้เกิดการชื่นชม  ตระหนัก     และเห็นคุณค่าในการดนตรี

คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
1. องค์ประกอบของขลุ่ย หมายถึงอะไร
2. การบำรุงรักษาเครื่องดนตรี หมายถึงอะไร
3. หลักการปฏิบัติขลุ่ย หมายถึงอะไร
4. การแสดงดนตรี หมายถึงอะไร
5. ความชื่นชมในดนตรี คืออะไร


  แผนการจัดการเรียนรู้ที่  11
ความรู้เกี่ยวกับโน้ตในดนตรี
เวลา 4 ชั่วโมง
สาระที่  2 ดนตรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การปฏิบัติเครื่องดนตรี(ขลุ่ย) เป็นรายบุคคล
1. สาระสำคัญ
องค์ประกอบของดนตรีไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทย ดนตรีสากล หรือดนตรีพื้นบ้าน ต่างก็ต้องมีทำนอง และจังหวะเป็นองค์สำคัญ  และสิ่งที่ใช้ในการจดบันทึกทำนองและจังหวะ  คือ โน้ตดนตรี หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า โน้ต มีความหมายได้สองทาง หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง (pitch) และความยาวของเสียงใน ทางดนตรี หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเอง เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที   แทนโน้ตดนตรี  การนำโน้ตมาร้อยเรียงทำให้เกิดเป็นบทเพลงหรือเกิดเป็นดนตรีที่มีความไพเราะ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (ศ 2.2 ม. 1/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุความหลากหลายของโน้ตดนตรีในวัฒนธรรมดนตรีไทยได้ (K)
2. วิเคราะห์ความแตกต่างของโน้ตตนตรีไทยกับโน้ตดนตรีประเภทอื่นได้ (K)
3. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ (A)
4. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินและมั่นใจ (A)
5. เห็นความสำคัญและประโยชน์ของโน้ตในองค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (A)
6. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโน้ตดนตรีต่าง ๆ ได้ (P)
7. สืบค้นข้อมูลเพลงหรือดนตรีได้ตรงตามลักษณะขององค์ประกอบดนตรี (P)
8. ร้องเพลงหรือนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. สังเกตจากการถามและการ
   แสดงความคิดเห็น
2. จากการตรวจการวัดและ
   ประเมินผลการเรียนรู้ประจำ
   หน่วย
3. จากการตรวจแบบทดสอบ
   ก่อนเรียน
4. จากการตรวจใบกิจกรรม

1. สังเกตจากความสนใจและ
   ความกระตือรือร้นในการ
   ปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตจากความรับผิดชอบ
   และความมีระเบียบขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรม
3. สังเกตจากการยอมรับความ
   คิดเห็นของผู้อื่นขณะปฏิบัติ
   กิจกรรม
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะ
   ปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
   และปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
2. สังเกตจากการปฏิบัติ
   กิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
3. สังเกตจากความตั้งใจและ
   ปฏิบัติตามขั้นตอน
 5. สาระการเรียนรู้
·   องค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
6. แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย
การอ่าน การเขียน การบันทึกข้อมูล การอภิปราย และการนำเสนอการปฏิบัติกิจกรรม
คณิตศาสตร์
การจำแนก
วิทยาศาสตร์
การสังเกตและการสืบค้นข้อมูล 
สังคมศึกษาฯ
การปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการศึกษาองค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
สุขศึกษาฯ
การพัฒนาทักษะการฟัง
ภาษาต่างประเทศ
คำศัพท์ทางดนตรี เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี และเนื้อเพลงสากล
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้
2. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่ารู้จักโน้ตดนตรีของดนตรีไทย โน้ตดนตรีของดนตรีสากล และโน้ตดนตรีของดนตรีพื้นบ้านอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบและร่วมกันแสดงความคิดเห็น

ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง โน้ตดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เกี่ยวกับโน้ตดนตรีไทย โน้ตดนตรีสากล และโน้ตดนตรีพื้นบ้าน ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบใด และมีความสำคัญต่อบทเพลงหรือดนตรีอย่างไร
2. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่ององค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม ดังนี้
·   กลุ่มที่ 1 เรื่อง โน้ตของดนตรีไทย
·   กลุ่มที่ 2 เรื่อง โน้ตของดนตรีสากล
·   กลุ่มที่ 3 เรื่อง โน้ตของดนตรีพื้นบ้าน
3. ให้แต่ละกลุ่มออกมาอภิปรายลักษณะเด่นของเรื่องที่กลุ่มได้ไปศึกษาค้นคว้าให้ครูและ
เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนฟัง แล้วร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง โน้ตของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้


ขั้นที่ 4 ฝึกฝนผู้เรียน
ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้โน้ตของดนตรีไทย กิจกรรม วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้โน้ตของดนตรีสากล   และกิจกรรม วิเคราะห์ความแตกต่างของเพลงในการเลือกใช้โน้ตของดนตรีพื้นบ้าน แล้วช่วยกันเฉลยหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้
                นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง โน้ตของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม ไปใช้ในการระบุความหลากหลายของโน้ตดนตรี และเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะของโน้ตดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม เพื่อเป็นความรู้เสริมในการเรียนหรือหัดเล่นดนตรีไทย ดนตรีสากล และดนตรีพื้นบ้านที่สนใจในโอกาสต่อไป 
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
ศึกษาลักษณะองค์โน้ตของดนตรีไทย โน้ตของดนตรีสากล และโน้ตของดนตรีพื้นบ้านเพิ่มเติมอย่างละเอียด แล้วฝึกบรรยายเพลงไทย เพลงไทยสากล เพลงสากล และเพลงพื้นบ้านที่ฟัง ตามลักษณะขององค์ประกอบดนตรีแต่ละประเภท
2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันจำแนกโน้ตดนตรีไทย โน้ตดนตรีสากล และโน้ตดนตรีพื้นบ้านจากเพลงที่กลุ่มสนใจ โดยเขียนว่าท่อนเพลงท่อนใดที่มีลักษณะตรงตามโน้ตของดนตรีเบื้องต้น สรุป แล้วนำมาอภิปราย
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. เพลงไทย เพลงไทยสากล เพลงสากล และเพลงพื้นบ้าน
2. ใบกิจกรรม
3. ห้องสมุด
4. สื่อการเรียนรู้ ดนตรี ชั้น ม. 1 จากอินเตอร์เน็ท
5. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ชั้น ม. 1
6. หนังสือแบบฝึกหัด ดนตรี ชั้น ม. 1 

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้........................................................................
                   แนวทางการพัฒนา............................................................................................
                2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้.....................................................................
                   แนวทางการแก้ไข............................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.....................................................................................
                   เหตุผล...............................................................................................................
                4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้........................................................................

ลงชื่อ..................................................(ผู้สอน)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
นักเรียนจะได้เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้างจากกิจกรรมการเรียนรู้

ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่ง
เวลาในการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
-  เรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  ผู้เรียนเรียนรู้ในการทำกิจกรรมภาระงานได้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถตามวัยของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความรู้และเชื่อมโยง
ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เสริใสร้างกระบวนกาการคิด การแก้ปัญหาในการทำางาน
- ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า
-  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานดนตรี
-  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำรงชีวิต
-  รู้จักการวางแผน กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย
- ปรับตัวในการดำเนินชีวิตพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
-  เกิดความตระหนักในการรทำงานประหยัดและอดออม
ความรู้   
ความรู้เกี่ยวกับโน้ตในดนตรีไทย
คุณธรรม
มีความรับผิดชอบ ความอดทน มีวินัย ประหยัด และตรงต่อเวลา





ใบความรู้  หลักการอ่านโน้ตดนตรีไทยเบื้องต้น 
ในการเรียนดนตรีและการบรรเลงดนตรีไทย ปกติตั้งแต่สมัยโบราณมาไม่มีการใช้โน้ตจะใช้วิธีการจดจำบทเพลงต่างๆ และสื่อสารต่อกันโดยการบรรเลงเครื่องดนตรี หรือการใช้ปากท่องทำนอง หรือที่เรียกว่า การนอยเพลง ซึ่งจะทำให้นักดนตรีจดจำเพลงได้อย่างแม่นย่ำ หากลืมเพลงแล้วจะไม่สามารถทบทวนเพลงได้ง่ายนัก ปัจจุบันมีผู้รู้ทางดนตรีไทยหลายท่านได้คิดสัญลักษณ์แทนเสียง ซึ่งปัญญา  รุ่งเรือง ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ของโน้ตเพลงไทยไว้ดังนี้


             1. ตัวโน้ต ใช้ตัวอักษรโดยยืมเสียงของตัวโน้ตในดนตรีสากลมาใช้ (แต่ระดับเสียงและความห่างของเสียงไม่เท่ากัน) เพื่อความสะดวก และเขียนเป็นอักษรย่อดังนี้
                  ใช้แทนเสียง   โด      
                  ใช้แทนเสียง   เร        
                 ใช้แทนเสียง   มี        
                 ใช้แทนเสียง   ฟา       
                 ใช้แทนเสียง   ซอล    
                 ใช้แทนเสียง   ลา       
                 ใช้แทนเสียง   ที    

ในกรณีที่เป็นเสียงสูง ก็จะใส่ จุด ไว้บนตัวโน้ต เช่น   ดํ หมายถึง  โด สูง ,                              
             2. บรรทัดสำหรับเขียนโน้ต  สำหรับวิธีการบันทึกโน้ตไทยนั้นจะบันทึกลงในตาราง โดยแบ่งออกเป็นบรรทัด  บรรทัดละ 8 ช่องเรียกว่า ห้องในแต่ละห้องจะบรรจุโน้ตไว้ 4 ตัว ถ้าเป็นอัตราปานกลางหรือจังหวะสองชั้น โน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องจะเป็นโน้ต เสียงตกจังหวะซึ่งในที่นี้จะอธิบายเฉพาะการอ่านโน้ตแบบอัตราสองชั้นเป็นหลัก
             ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                  ฉับ
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4

นอกจากตัวโน้ตที่บันทึกลงในตารางแล้ว  ยังมีเครื่องหมาย –  ซึ่งใช้แทนตัวโน้ต
ด้วยขีด 1 ขีด (-) ใช้แทนโน้ต 1 ตัว  แสดงการเพิ่มเสียงตัวโน้ตที่อยู่ข้างหน้าเครื่องหมาย
ให้มีเสียงยาวขึ้น  ทั้งนี้ความยาวของเสียงจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนขีด (-) ดังนี้
ถ้ามี -                    มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ถ้ามี - -                 มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 2/4 จังหวะ
ถ้ามี - - -               มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 3/4 จังหวะ
ถ้ามี - - - -            มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 4/4 จังหวะ หรือ เท่ากับ 1 จังหวะ


วิธีการอ่านโน้ตไทยนั้นจะใช้การเคาะจังหวะที่โน้ตท้ายห้อง  แทนเสียงฉิ่งฉับ 
ในอัตราสองชั้นจะมีโน้ตตัวสุดท้ายเป็นเสียงตกจังหวะเสมอ  เมื่อกำหนดให้ 1 บรรทัดโน้ต 
เท่ากับ 1 หน้าทับปรบไก่ ดังนั้นเมื่ออ่านโน้ตอัตราสองชั้น ควรเคาะจังหวะที่โน้ตห้อง
สุดท้ายแทนเสียงฉิ่งเสียงฉับ  สังเกตที่ตัวพิมพ์เข้าจะทำให้เข้าใจวิธีการบันทึกได้ง่ายขึ้น
สำหรับการบันทึกโน้ตไทยโดยทั่วไปจะบันทึกไว้ 8 ลักษณะที่พบมากที่สุด ดังนี้

โน้ตแบบ 4 ตัว ต่อ 1 ห้อง
              ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                  ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ

ด ด ด ด
ร ร ร ร
ม ม ม ม
ฟ ฟ ฟ ฟ
ซ ซ ซ ซ
ล ล ล ล
ท ท ท ท
ดํ ดํ ดํ ดํ
โน้ตแบบ 3 ตัว ต่อ 1 ห้อง
             ฉิ่ง                   ฉับ                ฉิ่ง                   ฉับ                 ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                  ฉับ

- ด ด ด
- ร ร ร
- ม ม ม
- ฟ ฟ ฟ
- ซ ซ ซ
- ล ล ล
- ท ท ท
- ดํ ดํ ดํ
โน้ตแบบ 3 ตัว แต่เป็นลักษณะของ 1 ห้อง 1 ตัว และ 3 ห้อง ตัว 
เป็นโน้ตที่ใช้สำหรับมือฆ้อง
            ฉิ่ง                  ฉับ                   ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                  ฉับ

- - -
ด ด - ร
ร ร - ม
ม ม - ฟ
ฟ ฟ - ซ
ซ ซ - ล
ล ล - ท
ท ท - ดํ
โน้ตแบบ 2 ตัว ต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 2 และตัวที่ 4)
             ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                  ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ

- ด - ด
- ร - ร
- ม - ม
- ฟ - ฟ
- ซ - ซ
- ล - ล
- ท - ท
- ดํ - ดํ
โน้ตแบบ 2 ตัว ต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 3 และตัวที่ 4)
             ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                  ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ

- - ด ด
- - ร ร
- - ม ม
- - ฟ ฟ
- - ซ ซ
- - ล ล
- - ท ท
- - ดํ ดํ
โน้ตแบบ 2 ตัว ต่อ 1 ห้อง เป็นแบบจังหวะยก (ตัวที่ 1 และตัวที่ 2)
              ฉิ่ง                  ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ                 ฉิ่ง                   ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ

ด ด - -
ร ร - - 
ม ม - -
ฟ ฟ - -
ซ ซ - -
ล ล - -
ท ท - -
ดํ ดํ - -
โน้ตแบบ 1 ตัว ต่อ 1 ห้อง
             ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                  ฉับ                 ฉิ่ง                 ฉับ

- - -
 - - -
- - -
- - -
- - -
- - -
- - -
- - - ดํ
โน้ตแบบ 1 ตัว ต่อ 2 ห้อง
              ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                 ฉับ                  ฉิ่ง                ฉับ                   ฉิ่ง                ฉับ

- - - -
 - - -
- - - -
- - -
- - - -
- - -
- - - -
- - -
การบันทึกโน้ตไทยทั้ง 8 ลักษณะนี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเริ่มอ่านโน้ตเพลงไทย  เพราะสามารถครอบคลุมรูปแบบการบันทึกโน้ตเพลงไทยได้ทั้งหมด การศึกษาเพลงไทยนั้นควรจะต้องทราบถึงวิธีการอ่านโน้ต
ไทยขั้นพื้นฐานเสียก่อน จึงนำไปสู่การศึกษาเพลงไทยในเชิงทฤษฎีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้



แบบฝึกหัดการอ่านโน้ต   
แบบฝึกหัดที่ 1   
- - -
- - - ร
- - - ม
- - - ฟ
- - - ซ
- - - ล
- - - ท
- - - ดํ

- - - ดํ
- - - ท
- - - ล
- - - ซ
- - - ฟ
- - - ม
- - - ร
- - - ด
แบบฝึกหัดที่ 2
- ด - ร
- ม - ฟ
- ซ - ล
- ท - ดํ
- ดํ - ท
- ล - ซ
- ฟ - ม
- ร - ด
แบบฝึกหัดที่ 3   
ด ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
  ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ด
ด ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
  ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ด
แบบฝึกหัดที่ 4
- ด ร ม
- ร ม ฟ
  - ม ฟ ซ
- ฟ ซ ล
- ซ ล ท
- ล ท ดํ
- ท ดํ รํ
- ดํ รํ มํ

- มํ รํ ดํ
- รํ ดํ ทํ
- ดํ ท ล
- ท ล ซ
- ล ซ ฟ
- ซ ฟ ม
- ฟ ม ร
- ม ร ด
แบบฝึกหัดที่ 5
ด ด ด ด
- ร – ร
  ม ม ม ม
- ซ – ซ
ล ล ล ล
- ซ – ซ
ม ม ม ม
- ร – ร